ประโยชน์ของสับปะรดสรรพคุณ และอันตรายที่ควรรู้!
สับปะรดเป็นพืชที่จัดอยู่ในประเภทผลไม้ มีประโยชน์อย่างหลากหลาย ทั้งในการนำมารับประทานสด หรือการทำส่วนประกอบในอาหารต่าง ๆ มีชื่อเรียกในทางวิทยาศาสตร์ว่า Ananas comosus (L.) Merr. ส่วนชื่อสามัญที่เรียกกันทั่วไปคือ Pineapple อยู่ในวงศ์ BROMELIACEAE มีรสชาติโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ ไม่มีเมล็ด เนื่องจากการปรับปรุงสายพันธุ์มาอย่างยาวนาน จึงทำให้ไม่ทราบแหล่งกำเนิดที่แท้จริงของสับปะรด
ส่วนประกอบของต้นสับปะรด
ส่วนประกอบตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสับปะรด มีดังนี้
- ลำต้น
ลำต้นเจริญเติบโตในลักษณะพืชล้มลุก เชื่อว่ามีต้นกำเนิดแรกมาจากทวีปอเมริกาใต้ ความสูงโผล่พ้นดินราว 20-30 เซนติเมตร มีความกว้างราว 5 เซนตเเมตร มีลำต้นที่อยู่ใต้ดินและเหนือดิน รวมกันราว 80-100 เซนติเมตร ซึ่งที่โผล่ขึ้นมาจะตั้งตรง ส่วนของข้อและปล้องสั้น ห่างกันราว 2-5 มิลลิเมตร - ใบ
ใบของสับปะรดจะมีความเรียว และเป็นร่องโค้ง ขอบมีหนามแหลมเล็ก มีความหนา ซึ่งแข็งแรงและมีความทนทานไม่หักหรือถูกพับได้ง่าย การเจริญเติบโตจะเป็นใบเวียนไปรอบลำต้นราว 5 รอบ มักจะมีราว 13 ใบ ส่วนใบที่ 14 จะตรงกับใบแรกด้านล่างสุด ซึ่งการเจริญเติบโตในลักษณะนี้ ก็เพื่อความอยู่รอดในสภาวะอากาศที่แห้งแล้ง กักเก็บน้ำไว้ภายในตามมมุมใบเพื่อนำไปใช้เป็นอาหาร - ดอก
ช่อดอกสับปะรดในปัจจุบันวิวัฒนาการมาอย่างยาวนานจากช่อดอกในลักษณะ raceme มีส่วนของดอกย่อยและ bract เชื่อมต่อเข้าด้วยกันตรงแกนกล่องช่อดอก มีช่อดอกย่อยราว 100-200 ดอก เจริญเติบโตที่ก้านช่อดอก และมีความสมบูรณ์เพศในตัว มีทั้งกลีบเลี้ยง กลีบดอก และเกสรตัวผู้ สีของกลีบดอกที่โคนจะเป็นสีขาว ส่วนปลายเป็นสีฟ้าอมม่วง รูปร่างยาวรี - ผล
ผลของสับปะรดเป็นลักษณะผลรวม เพราะผนังรังไข่ที่เชื่อมติดกัน รวมถึงดอกย่อยที่เรียงตัวชิดที่แกนกลางช่อดอก ผลและใบด้านบนสุด จะเติบโตไปพร้อมกัน ที่ตรงกลางผลจะมีแกนเนื้อเยื่อ เติบโตจากส่วนปลายยอดต้น ผลรูปทรงเหมือนเมล็ดสนขนาดใหญ่ โคนผลกว้างกว่าปลาย หากผลมีขนาดใหญ่ ทรงจะออกกลม แต่ถ้าหากมีขนาดกลางจะเป็นทรงรี ในขณะที่ผลขนาดเล็กจะเป็นทรงเกือบกลม เปลือกหนา มีส่วนที่เรียกว่าตาสับปะรดล้อมรอบอยู่ - ราก
รากสับปะรดเป็นระบบรากฝอยเป็นจำนวนมาก จะกระจายตัวออกจากจุดกำเนิดรากซึ่งมักจะอยู่ตามมุมใบที่เติบโตอยู่กับลำต้นใต้ดิน ซึ่งแบ่งเป็นรากดิน(soil root) หยั่งลึกได้มากถึง 50 เซนติเมตร และ รากมุมใบ(axillary root) เน้นดูดซึมธาตุอาหาร จะอยู่เหนือผิวดิน
ประโยชน์และสรรพคุณของสับปะรด
1.ใบสดของต้นสับปะรดสามารถนำเอามาใช้ทำเป็นยาแผนโบราณได้ ซึ่งมีสรรพคุณช่วยเป็นยาถ่ายพยาธิ ขับปัสสาวะ และแก้กระษัย
2.ผลของสับปะรดที่สุก สามารถนำมารับประทานสด ซึ่งมีสรรพคุณทางเคมีที่ดีต่อระบบย่อยอาหาร เนื่องจากมีเอนไซม์ที่ชื่อว่าบรอมีเลน ช่วยย่อยโปรตีน ช่วยลดอาการท้องอืด และอาการอาหารไม่ย่อยได้
3.เป็นผลไม้ที่มีส่วนผสมของเกลือแร่และวิตามินซีในปริมาณสูง จึงมักถูกนำไปสกัดเป็นยาสำหรับรักษาการอักเสบของเนื้อเยื่อ
4.การรับประทานผลสดที่มีรสเปรี้ยวอมหวาน จะช่วยละลายเสมหะ ช่วยลดความเหนียวของน้ำลาย และลดภาวะอักเสบของกล้ามเนื้อ
5.การนำเอาผลดิบมารับประทาน ซึ่งจะมีรสชาติเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย มีสรรพคุณเป็นยาระบายแบบอ่อน และยังใช้สำหรับห้ามเลือดได้
6.เนื่องจากเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะวิตามินและแร่ธาตุ ดังนั้นจึงช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ลดเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง
7.มีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย จึงเป็นเสมือนตัวช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ ดูเปล่งปรั่ง อ่อนกว่าวัย ลดริ้วรอยได้ดี
8.เนื้อสับปะรดที่สุกงอม สามารถนำมาทำเป็นสับปะรดกวน แปรรูปเป็นขนมหวาน หรือไส้ขนมต่าง ๆ ที่ให้รสชาติดี และมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์
9.สับปะรดถูกนำไปทำเป็นแยมสำหรับทาขนมปัง และผสมในของหวาน ทำให้มีรสชาติที่ดียิ่งขึ้น
10.เนื่องจากมีกรดตามธรรมชาติ จึงมักนำเอาเนื้อสับปะรดมาคลุกเคล้าหมักกับเนื้อ หรือต้มกับเนื้อสัตว์ ซึ่งจะช่วยให้เนื้อมีความนุ่ม เปื่อยง่าย
11.นำไปใช้เป็นส่วนประกอบในอาหาร เช่น แกงสับปะรด, ผัดเปรี้ยวหวาน ซึ่งให้รสชาติที่อร่อย อาหารดูมีมิติด้านรสชาติมากขึ้น
12.น้ำสับปะรดมีส่วนช่วยในการสลายไขมัน เต็มไปด้วยไฟเบอร์ที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และยังมีส่วนช่วยควบคุมน้ำหนักได้
13.การรับประทานสับปะรดจะช่วยลดความตึงเครียดและความวิตกกังวล เนื่องจากมีสารเซราโทนิน ทำให้อารมณ์ดีและรู้สึกผ่อนคลาย
อันตรายหรือข้อควรระวังในการกินหรือใช้สับปะรด
1.การรับประทานสับปะรดตอนท้องว่าง อาจทำให้ระคายเคืองที่กระเพาะอาหาร เนื่องจากปริมาณเอนไซม์มาก และอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องตามมาได้
2.การรับประทานสับปะรดดิบมากจนเกินไป เสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะถ่ายท้องอย่างรุนแรง เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบาย
3.ผู้ป่วยเบาหวานต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานสับปะรดมากเกินไป เพราะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
4.เอนไซม์ในเนื้อสับปะรดอาจทำให้เยื่อบุในช่องปากโดยเฉพาะลิ้น หากรู้สึกอาการรุนแรง ควรหยุดรับประทาน และรีบกลั้วปากทันที
สับปะรดถือว่าเป็นพืชที่เต็มไปด้วยประโยชน์และสรรพคุณด้านสมุนไพร มีการนำมารับประทาน และใช้เป็นยารักษาอาการต่าง ๆ มาอย่างยาวนาน และเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยม นำไปแปรรูปได้ทั้งในของหวานและอาหารคาว