Menu
ประโยชน์
  • หน้าแรก
  • พืช
  • บุคคล
  • สิ่งของ
  • อาหาร
  • สถานที่
  • software
  • เครื่องไฟฟ้า
  • เบ็ดเตล็ด
ประโยชน์

ประโยชน์ของน้ำมันพืช

Posted on 17 กุมภาพันธ์ 202312 มีนาคม 2023 by Thaiapply
ประโยชน์ของน้ำมันพืช
ประโยชน์ของน้ำมันพืช

น้ำมันพืชคืออะไร มีประโยชน์ วิธีเลือกใช้และอันตรายอะไรบ้าง?

น้ำมันพืช(Vegetable oils) คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากไขมันพืช ซึ่งอาจเป็นเมล็ดถั่วเหลือง,ลูกปาล์ม, เมล็ดงา, ผลมะกอก, เมล็ดทานตะวัน, เมล็ดโกโก้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการผลิตจากน้ำมันที่ได้จากผลไม้และผักแต่ละชนิด นำมาใช้งานเช่นเดียวกันกับไขมันสัตว์ ซึ่งอาจอยู่ในสถานะของเหลวเมื่ออยู่ในอุณหภูมิห้อง หรือรวมตัวกันเป็นไขเมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่เย็นลง โดยองค์ประกอบหลักของไขมันพืชจะมีไตรกลีเซอไรด์ สกัดได้จากเมล็ดพืชเป็นหลัก นิยมใช้เป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร โดยเฉพาะเมนูทอดและผัด ซึ่งจะมีส่วนผสมของน้ำมันพืชในปริมาณมากกว่าการทำอาหารประเภทอื่น

ในสมัยโบราณ น้ำมันพืชได้มาจากหลากหลายวัตถุดิบ ซึ่งอยู่ในแต่ละวัฒนธรรม พบว่ามีการใช้น้ำมันเหล่านี้มายาวนานกว่า 4,000 ปี ขุดพบในรัฐอินดีแอนา โดยใช้แผ่นหินขนาดใหญ่นำมาบดถั่ว hickory nut เพื่อให้น้ำมันถูกคั้นออกมา เป็นเทคนิคการสกัดที่ถือว่าเก่าแก่ และยังพบการสกัดน้ำมันมะกอก มีมายาวนานตั้งแต่ 6,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช

การแพร่หลายของน้ำมันพืช พบในช่วงศตวรรษที่ 19 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้น้ำมันในการปรุงอาหารปริมาณสูงในแต่ละวัน และยังมีการคิดค้นสกัดน้ำมันจากเมล็ดฝ้าย ซึ่งให้รสชาติที่อร่อยเมื่อนำมาทำอาหารคล้ายน้ำมันหมู โดยมีนักเคมีชาวเยอรมัน Edwin Kayser เป็นผู้คิดค้น ภายหลังจากนั้นก็เริ่มมีการผลิตน้ำมันพืชเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น อีกทั้งมีการรณรงค์ที่ทำให้ผู้คนสนใจน้ำมันพืชมากกว่าน้ำมันจากสัตว์ เพราะปลอดภัยต่อสุขภาพมากกว่า แม้ในปัจจุบัน จะยังคงเป็นเรื่องถกเถียงในเรื่องของไขมันทรานส์ที่พบในน้ำมันพืชบางชนิดที่มีราคาถูก ทำให้บางกลุ่มเริ่มหันกลับไปใช้น้ำมันจากสัตว์ แต่ผู้คนส่วนใหญ่ก็ยังคงเลือกใช้น้ำมันพืช เนื่องจากหาซื้อได้ง่ายและมีราคาถูกกว่า

ประโยชน์ของน้ำมันพืช

1.สามารถนำไปใช้ปรุงอาหารได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเมนูทอด ผัด หรือเมนูอื่น ๆ ซึ่งถือว่าเป็นน้ำมันที่ใช้งานได้ค่อนข้างจะเอนกประสงค์ในครัวเรือน

2.เป็นแหล่งพลังงานที่ร่างกายต้องการ หากรับประทานในสัดส่วนที่เพียงพอ ร่างกายจะนำไปทำหน้าที่ละลายวิตามินบางชนิดที่ไม่สามารถละลายในน้ำได้

3.ช่วยให้ร่างกายได้รับกรดไขมันจำเป็น เช่น กรดไลโนเลอิก ที่ช่วยลดคลอเลสเตอรอล และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

4.น้ำมันมะกอกถือว่าเป็นน้ำมันพืชทีดีต่อสุขภาพ มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือกหัวใจ

5.ใช้ประกอบอาหารได้ดี เนื่องจากไม่มีกลิ่นรุนแรง ทำให้อาหารที่ได้ไม่เสียรสชาติ

6.น้ำมันพืชมักจะมีส่วนผสมของวิตามินอี เพื่อช่วยลดกลิ่นหืน ทำให้ร่างกายได้รับวิตามินชนิดนี้เข้าไปด้วย เป็นผลให้ผิวหนังได้รับความชุ่มชื้น ต่อต้านอนุมูลออิสระ และช่วยชะลอวัยได้อย่างดี

7.วิตามินเคในน้ำมันพืช มีผลช่วยเสริมการเจริญเติบโต และช่วยร่างกายให้ดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระดูกได้มากขึ้น

8.นำมาใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่นได้ ด้วยการเติมในรถยนต์ แต่จะติดเครื่องได้ยากกว่า และต้องเป็นเครื่องยนต์ดีเซลรอบต่ำ ดังนั้นจึงใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น

9.ใช้ทาริมฝีปากแทนได้กรณีไม่มีลิปมัน ซึ่งจะช่วยลดความแห้งแตก กักเก็บความชุ่มชื้นเอาไว้ได้ โดยการใช้น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันมะกอก จะได้ความชุ่มชื้นที่ดี และไม่มีกลิ่นหืน

10.สามารถใช้น้ำมันมะพร้าวที่ผ่านกระบวนการสกัดเย็นมาหมักเส้นผมแทนครีมนวดได้ ซึ่งจะช่วยให้ผมมีน้ำหนัก และช่วยบำรุงศีรษะไปในตัว

11.ช่วยเพิ่มความอร่อยให้เมนูอาหาร โดยเฉพาะน้ำมันมะกอก ซึ่งไม่เพียงช่วยเรื่องสุขภาพ แต่ยังดึงรสชาติให้มีมิติ ได้รสชาติที่อร่อย เช่น การนำไปผสมกับน้ำสลัด หรือราดลงบนสลัดผัก ไปจนถึงการนำไปคลุกกับเนื้อสัตว์ก่อนนำเข้าอบ

วิธีเลือกใช้น้ำมันพืชให้ดีต่อสุขภาพ
วิธีเลือกใช้น้ำมันพืชให้ดีต่อสุขภาพ

วิธีเลือกใช้น้ำมันพืชให้ดีต่อสุขภาพ

1.ควรเลือกน้ำมันพืชที่ไม่มีตะกอน สีใส ผลิตภัณฑ์ปิดสนิท ไม่มีรอยแกะหรือรอยแตกที่รั่วซึม

2.เมื่อเปิดใช้งานครั้งแรก จะต้องไม่มีกลิ่นเหม็นหืน หากสีและกลิ่นผิดปกติ แสดงว่าเป็นน้ำมันพืชเก่าถูกเก็บเอาไว้นาน หรือสัมผัสกับอากาศจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

3.เลือกใช้น้ำมันพืชให้เหมาะสมกับประเภทของการปรุงอาหาร เพราะน้ำมันพืชบางชนิดถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานในอุณหภูมิที่ไม่สูงจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดเป็นสารพิษขึ้นมาได้

4.ควรเลือกน้ำมันพืชที่มีส่วนผสมของวิตามินที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งประกอบไปด้วย วิตามินอี, โอรีซานอล และ ไฟโตสเตอรอล เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากอาหารอย่างครบถ้วน

อันตรายจากน้ำมันพืช มีอะไรบ้าง?

1.หากใช้น้ำมันพืชที่มีจุดเดือดต่ำไปปรุงอาหารประเภททอดหรือผัดด้วยความร้อนสูง จะทำให้เกิดควันพิษ เป็นอันตรายต่อร่างกายได้

2.หากบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำมันพืชมากเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจตามมา

3.น้ำมันพืชคุณภาพต่ำจะมีส่วนผสมของไขมันทรานส์อยู่ ซึ่งเป็นตัวการทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบได้ง่าย อีกทั้งยังสะสมจนกลายเป็นไขมันเลว นำไปสู่การเจ็บป่วยรุนแรงได้ จะเห็นได้ว่าน้ำมันพืชเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งในร้านอาหาร และครัวเรือนที่ทำอาหารรับประทานเอง ดังนั้นควรเลือกซื้อน้ำมันพืชที่ได้มาตรฐาน หลีกเลี่ยงการนำน้ำมันเก่ามาใช้ใหม่ และที่สำคัญพยายามใช้ในสัดส่วนที่ไม่มากเกินไป จะได้ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวตามมา

เรื่องที่เกี่ยวข้อง...

ประโยชน์ของอาหารประโยชน์ของอาหาร red apple แอปเปิ้ลแดงประโยชน์ของแอปเปิ้ลแดง ผลไม้มหัศจรรย์ ส้ม กับคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลายประโยชน์ของส้ม กับคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย มะม่วง ผลไม้สารพัดประโยชน์ แหล่งรวมพลังงานชั้นดีประโยชน์ของมะม่วง ผลไม้สารพัดประโยชน์ แหล่งรวมพลังงานชั้นดี
  • สุขภาพ
  • อาหาร
  • เครื่องใช้ในครัว
    • software
    • บุคคล
    • พืช
    • สถานที่
    • สิ่งของ
    • หมวดเบ็ดเตล็ด
    • อาหาร
    • เครื่องไฟฟ้า

    software การเดินทาง ของฝาก ของใช้ ของใช้ประจำตัว ของใช้ประจำบ้าน ของใช้ประจำสำนักงาน ของใช้ส่วนตัว คอมพิวเตอร์ ชาวพุทธ ซอฟแวร์ ทำบุญ ท่องเที่ยว ธรรมะ บ้าน ประกันชีวิต ประเพณี ประโยชน์ ปีใหม่ ผลไม้ พระพุทธศาสนา พืช ยานพาหนะ รถ ร่างกาย วันสำคัญ สถานที่ สถานศึกษา สมุนไพร สวดมนต์ สิ่งก่อสร้าง สิ่งของ สุขภาพ อาหาร อินเตอร์เน็ต เครื่องประดับ เครื่องสำอางค์ เครื่องใช้ในครัว เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องไฟฟ้า เทศกาล เว็บไซต์ โปรแกรม โรงเรียน

    พระเครื่อง เครื่องราง

    เว็บไซต์นี้

    • เกี่ยวกับเว็บไซต์
    • ประโยชน์ของเว็บไซต์
    • ประโยชน์ของ Google
    • ประโยชน์ของมวยไทย
    • รวมประโยชน์สิ่งต่าง ๆ ทั้งหมด

    เว็บไซต์แนะนำ

    • โค้ดสี.com
    • เมนูอาหาร.com
    • สื่อการสอน.com
    • ยามอุบากอง.com
    • เครื่องคิดเลข.com

    เว็บไซต์แนะนำ

    • คำขวัญ.com
    • พระคุ้มครอง.com
    • เครื่องคิดเลข.com
    • เวลาประเทศไทย.com
    • ปฏิทินปักขคณนา.com
    เว็บไซต์เพื่อความรู้และการนำประยุกต์ใช้ ไม่สงวนสิทธิ์ในการนำไปประยุกต์ใช้ แต่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความไปเขียนบนเว็บไซต์ 2565 www.Thaiapply.com