พิมเสนคืออะไร มีประโยชน์ วิธีใช้และข้อควรระวังอะไรบ้าง?
พิมเสน (Bomeol Camphor) ถือว่าเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นไม้ยืนต้น ชื่อเรียกตามแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันออไป สำหรับในไทยจะเรียกว่าพิมเสนเกล็ด ส่วนประเทศจีนจะเรียกว่าเหมยเพี่ยน โดยทั่วไปพิมเสนจะมีทั้งที่สกัดได้จากธรรมชาติ และมาจากสารสังเคราะห์ คุณสมบัติหลักของสารชนิดนี้คือระเหยง่าย กลิ่นหอมเย็นสดชื่น และติดไฟได้ง่าย นิยมนำมาใช้ดม และยังใช้รับประทานกับหมากพลูเพื่อให้รู้สึกเย็นสบายในช่องปาก
ต้นพิมเสนนั้นจะเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ อยู่ในตระกูลยางนา ความสูงตั้งแต่ 70 เมตรขึ้นไป การจะได้มาซึ่งพิมเสนที่ใช้ดม จะต้องสกัดเอาส่วนผสมในเนื้อไม้ออกมา เป็นเกล็ดสีขาวขนาดเล็ก นิยมนำไปผสมให้อยู่ในรูปแบบของน้ำมันหอมระเหย ซึ่งใช้งานได้ง่าย พิมเสนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ใช้เป็นยาดม บรรเทาอาการต่าง ๆ ได้ และยังเป็นยาที่ใช้ในการแพทย์แผนโบราณอีกด้วย
ประโยชน์ของพิมเสน
1.ในแพทย์แผนโบราณใช้พิมเสนเพื่อเป็นยาสำหรับกระตุ้นการหายใจ ขับเสมหะ และใช้ขับเหงื่อ ด้วยวิธีการผสมกับตัวยาอื่น ๆ ด้วย ซึ่งอัตราส่วนที่ใช้จะต้องเป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะ
2.พิมเสนที่ผลิตขึ้นมาให้เป็นยาดม ซึ่งให้ความรู้สึกสดชื่น เมื่อดมแล้วช่วยทำให้ผ่อนคลาย ลดความกระวนกระวาย ลดอาการง่วงซึมได้
3.ใช้เป็นยาทาผิวสำหรับคลายเส้นและบรรเทาอาการโรคผิวหนังบางชนิด โดยนิยมนำไปผสมร่วมกับสมุนไพรอื่นร่วมกับการรักษา
4.มีคุณสมบัติช่วยกำจัดเชื้อโรคภายในลำไส้ใหญ่ได้ด้วยการนำไปทำเป็นยาสำหรับรับประทาน
5.พิมเสนถือว่าเป็นยาเย็น มีรสชาติเผ็ดขม ออกฤทธิ์ต่อปอดและหัวใจ จึงเป็นเสมือนยาบำรุงหัวใจ ในมุมของแพทย์แผนโบราณ
6.ช่วยขับพิษออกจากร่างกาย ทำให้อวัยวะภายในสะอาด
7.ในตำรายาแก้ไอของแพทย์แผนโบราณ จะนำเอาพิมเสนมาผสมกับยาหม่องและขี้ผึ้ง ทาที่ลำคอ และจมูก ช่วยรรเทาอาการไอ และทำให้โล่งจมูกมากขึ้นได้
8.ส่วนของใบและยอดอ่อน สามารถนำมากลั่นจนได้ออกมาเป็นน้ำ จนได้ผลึกพิมเสนออกมา ใช้สำหรับเป็นยาแก้ท้องร่วง ขับลม และบรรเทาอาการปวดท้อง
9.ใช้เกล็ดพิมเสนทาผิวบริเวณที่เป็นแผลผดผื่นคัน บรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้
10.เกล็ดหรือผลึกพิมเสนนิยมนำไปผสมในตำรับยาหอมต่าง ๆ เพื่อใช้ดมแก้วิงเวียนศีรษะ อาการหน้ามืดตาลาย
11.พิมเสนใช้นำมาทำเป็นน้ำมันหอมระเหยสำหรับบำบัดได้ โดยสกัดจากพิมเสนธรรมชาติ นำมาผสมกับขี้ผึ้งทำเป็นเทียนหอม หรือผสมกับน้ำมันสำหรับใช้กับเตา หรือใช้เป็นผลิตภัณฑ์ใช้งานกับก้านไม้หอม สร้างบรรยากาศภายในห้องให้ผ่อนคลาย
12.ใช้ไล่มดได้ โดยการโรยเกล็ดพิมเสนไว้ตามจุดต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการให้มดเดินผ่าน กลิ่นของพิมเสนจะระเหยทำให้มดไม่กล้าเดินผ่าน
13.เกล็ดพิมเสนสามารถวางเอาไว้ในตู้เสื้อผ้า ใส่ในภาชนะที่เปิดฝาเล็กน้อยเพื่อให้กลิ่นระเหยออกมา ทำให้ตู้เสื้อผ้าไม่เหม็นอับ
14.ใช้เป็นสเปรย์ดับกลิ่นได้ ด้วยการผสมร่วมกับสารเคมีอื่น ๆ ลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ภายในบ้าน
15.ใช้ทาที่บริเวณขมับ จะช่วยบรรเทาอาการปวด และลดอาการเวียนหัวที่มีสาเหตุมาจากการเมารถได้
16.วางถุงพิมเสนในตู้รองเท้า ช่วยดับกลิ่นรองเท้า และกลิ่นอับได้
ประเภทของพิมเสนมีกี่แบบ?
1.พิมเสนธรรมชาติ – เป็นพิมเสนที่ได้มาจากการ “ระเหิด” ของยางต้นไม้ชนิดหนึ่ง โดยมีชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า Dryobalanops aromatica Gaertn ในปัจจุบันหาได้ยาก มีราคาแพง จึงเริ่มหันไปใช้เป็นพิมเสนที่ได้จากการสังเคราะห์แทน
2.พิมเสนเทียม – เป็นพิมเสนสังเคราะห์ที่ได้มาจากการกลั่นเนื้อไม้ แต่มาจากเนื้อไม้หลายชนิดที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน โดยทั่วไปมักได้จากต้นการบูร ซึ่งจะมีกลิ่นที่หนัก ระเหยช้ากว่า และใช้วิธีการสังเคราะห์ด้วยเคมี โดยมีน้ำมันสนเป็นตัวช่วย
ข้อควรระวังในการใช้พิมเสน มีอะไรบ้าง?
1.การดมพิมเสนบ่อย ๆ จนกลายเป็นนิสัย เพราะนี่ไม่ใช่เรื่องที่ดี เนื่องจากพิมเสนมีฤทธิ์เผ็ดร้อน กลิ่นแรงจัด อาจทำลายเยื่อบุภายในจมูกให้เกิดความเสียหาย หรือเกิดเป็นบาดแผลระคายเคืองได้
2.การใช้ในปริมาณที่เข้มข้น โดยเฉพาะการทาบนผิวหนัง จะทำให้ผิวแสบร้อน และเกิดเป็นรอยไหม้ แห้งลอก ระคายเคืองตามมา
3.พิมเสนที่ถูกเก็บเอาไว้นานเกินไป ปฏิกิริยาเคมีอาจเปลี่ยนแปลงหรือเกิดการรั่วไหล่ผสมกับอากาศและสิ่งสกปรกภายนอก เป็นอันตรายเมื่อนำมาใช้งาน
3.พิมเสนจะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง จึงเป็นอันตรายได้หากใช้เกินปริมาณที่กำหนด
4.พิมเสนเทียมที่มาจากการสังเคราะห์ เมื่อรับประทานจะมีรสเผ็ด รู้สึกแสบลิ้น จึงต้องใช้อย่างระมัดระวังให้มาก
5.พิมเสนมีการนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หลากหลาย บางชนิดกินได้ แต่บางชนิดเป็นอันตรายหากเผลอรับประทานเข้าไป
ผลิตภัณฑ์ของพิมเสนมีหลายรูปแบบ ทั้งชนิดน้ำ, ถุงหอม ไปจนถึงเครื่องหอมที่อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ซึ่งยังถูกผสมในยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ อย่างไรก็ตามพิมเสนจะต้องใช้งานในปริมาณที่พอดี ไม่มากจนเกินไป และถ้าใช้เป็นยาควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ ส่วนพิมเสนในรูปแบบของยาดม ควรเก็บไว้ในภาชนะที่มิดชิด ปิดฝาให้สนิท เพราะระเหยได้ง่าย โดยเฉพาะในอุณหภูมิที่ร้อนชื้น ทำให้กลิ่นหอมจางหายไปอย่างรวดเร็วได้